3/28/2554

เอนไซม์สามารถรักษา โรคมะเร็ง ได้จริงหรือ?

ก่อนอื่นนะครับ เรามาทำความรู้จักกับ โรคมะเร็ง กันสักนิดนะครับ

http://img6.uploadhouse.com/fileuploads/8966/896639603990f8e20dfa1924a797419af8acc75.jpg

มะเร็ง คือ กลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติ ที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ รวดเร็ว และมากกว่าปกติ ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะการ เจริญเติบโตของหลอดเลือด ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะ เรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็ง เม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และ มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

เท่าที่มีรายงานไว้ใน ขณะนี้ มะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิด มะเร็งแต่ละชนิดจะมีการ ดำเนินของโรคไม่เหมือนกัน เช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง จะมีการดำเนินชนิดของ โรค ที่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีชีวิตการอยู่รอดสั้นกว่าผู้ป่วย มะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

ดังนั้น การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกาย และความเหมาะสม ของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและ การดำเนินโรคของมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งผิวหนัง รักษาง่ายกว่า มะเร็งปอด มะเร็งสมอง เป็นต้น

ดังนั้นการรักษาโดยวิธีเอนไซม์บำบัดจึงต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก มีหลายงานวิจัยระบุไว้ว่าเซลล์มะเร็งส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่ขาดเอ็นไซม์ ในการที่จะให้เซลล์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ ร่างกายจำเป็น ต้องได้รับสารอาหารพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ แต่ในการกินอาหารแต่ละวันนั้นเราไม่สามารถรับสารอาหารเหล่านี้ได้อย่างพอ เพียง เมตาบอลิซึมของเอนไซม์จะทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือด เส้นประสาท อวัยวะต่างๆจนถึงระดับเนื้อเยื่อ ถ้าคุณมีเอ็นไซม์ที่มีศักยภาพในการย่อยอาหารได้มาก แต่เมตาบอลิซึมของเอนไซม์คุณไม่ดี คุณก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งได้ ถึงแม้ว่าคุณจะรับเอ็นไซม์เสริมเข้าไป คุณก็จะต้องมีกิจกรรมของเอนไซม์ที่สมบูรณ์เพื่อนำสารอาหารเหล่านี้ไปสู่เซลล์ ซึ่งจะช่วยต่อสู้และป้องกันคุณจากมะเร็งได้


 

แล้วเอนไซม์เสริมจะช่วยป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็งได้อย่างไร ?
ในเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม มี 2 ทฤษฎีที่สามารถตอบคำถามนี้ได้

     ทฤษฎีที่ 1 นักวิจัยได้ทำการศึกษาจนรู้ถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งว่า เกิด จากการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรม (D N A) ในเซลล์ปกติ ซึ่งมีสาเหตุจากความเครียด โรคอ้วน การกินไขมันอิ่มตัว แสงอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ที่มากเกินไปและสาเหตุอื่นๆ อันจะมีผลต่อนิวคลีโอไทด์ทั้ง 4 ชนิด (adenine, gunine, cyiosine และ thymine) ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพทางเคมีของพันธุกรรม ทำให้เกิดการสร้างสายโปรตีนที่ผิดปกติ และจะมีผลให้เกิดการสร้างสายโปรตีนที่ผิดปกติไปเรื่อยๆ จนเกิดการลามและทำลายเซลล์อื่นๆ ในร่างกายเราอาจมีเซลล์แบบนี้อยู่ตั้งแต่ 100 จนถึง 10,000 เซลล์ แต่ธรรมชาติได้มีการเตรียมเอ็นไซม์บางชนิดเพื่อซ่อมแซมสารพันธุกรรมให้กลับมาเป็นปกติ เพื่อที่จะสร้างสายโปรตีนที่ถูกต้อง ถ้าคุณได้รับการเสริมเอนไซม์ ร่างกายคุณก็อาจจะสามารถสร้างเอ็นไซม์ที่ใช้ในการซ่อมแซมสารพันธุกรรมนี้ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งได้

      ทฤษฎีที่ 2 กล่าวว่า เซลล์มะเร็งจะถูกปกคลุมได้ด้วยเยื่อหุ้มเพื่อ ป้องกันการรุกรานของเม็ดเลือดขาว สาเหตุที่เม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าทำลายเซลล์มะเร็งได้เนื่องจากไม่สามารถ จดจำได้ว่า เป็นเซลล์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีนักวิจัยหลายคนเชื่อว่าโปรตีนที่ปกคลุมเหล่านี้จะปลอมแปลงเซลล์มะเร็งให้เหมือนกับเป็นมิตรต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามการกินเอ็นไซม์เสริมโดยเฉพาะ เอนไซม์ แมนเดล จะช่วยในการสลายโปรตีนที่ปกคลุมเซลล์มะเร็ง ทำให้เม็ดเลือดขาวสามารถเข้าทำลายเซลล์มะเร็งได้


ภัยเงียบที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตมากที่สุด ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

ภัยเงียบที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตมากที่สุด ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน..!


http://img.kapook.com/image/al.jpg


ครับหลายๆคนคงไม่เคยรู้มาก่อน ที่เรารู้ๆหรือเห็นๆกันตามข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ คือการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ มะเร็ง โรคร้ายแรงต่างๆ แต่จะมีซักกี่คนที่จะรู้ข้อมูลนี้


นั้นก็คือ "การขาดเอนไซม์นั้นเอง" โดยปรกติธรรมชาติร่างกายของมนุษย์จะมีทั้งขยะที่เกิดจากการกินอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ ไขมันส่วนเกิน ซากเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ที่เสื่อมสภาพและตายลง ที่สำคัญ เราสร้างอนุมูลอิสระเองอันเกิดจากการหายใจนำเอาออกซิเจนเข้าไปใช้งาน ยังแถมสร้างเซลล์ผิดปกติออกมาตลอดเวลาจากการแบ่งตัวและสร้างเซลล์ใหม่ของ D N A นี่เป็นเพียงแค่เฉพาะในร่างกายของเราเท่านั้น ที่มีขยะอันเกิดจากการที่ชีวิตต้องมีชีวิตอยู่


   สังคมปัจจุบันมีแต่การเร่งรีบและแข่งขัน ถ้าในด้านการทำงานส่วนบุคคลก็สร้างความเครียดให้ไม่น้อยในแต่ละวัน ความเครียดคือศัตรูร้ายอย่างที่เราคาดไม่ถึง อันเนื่องมาจากอารมณ์ที่มีแรงกดดันต่ออาชีพการงานในการดำรงอยู่ของชีวิต และเจ้าอารมณ์นี้แหละที่ไปกดดันให้ระบบประสาทเกิดความตึงเครียด ทำให้หัวใจทำงาน หนักเพื่อสูบฉีดโลหิต ทำให้หลอดเลือดขยายตัวผิดปกติ ทำให้หายใจเร็วขึ้นปอดทำงานหนักขึ้น จึงเกิดแรงกดดันทั่วร่างกาย ร่างกายจึงรู้สึกถึงความไม่ปกติและความ ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตก็ผลิตสารเคมีเพื่อต่อต้านและให้ผ่อนคลาย แต่ผลนั้นกลับตรงกันข้ามสาเคมีที่ผลิตออกมากลับเป็นพิษและทำลายเซลล์เนื้อ เยื่อต่างๆ เสียหาย ทำให้ อวัยวะอ่อนแอและทำงานด้อยประสิทธิภาพลง อวัยวะที่อ่อนแอเป็นเป้าโจมตีของเซลล์มะเร็ง ถ้าในด้านอุตสาหกรรมก็เร่งการผลิต ขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับ กับการบริโภคจึงเกิดการแข็งขัน ความร้อนจากการผลิตทำลายสภาวะแวดล้อมเพิ่มอุณหภูมิให้โลกร้อนขึ้น เมื่อโรคร้อนขึ้นเชื้อแบคทีเรียก็ขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น ปล่อย สารเคมีลงน้ำในแม่น้ำทำลายระบบนิเวศธรรมชาติของสัตว์น้ำ ปล่อยแก็สพิษและควันพิษออกสู่บรรยากาศภายนอกสร้างมลภาวะที่เป็นพิษ ทั้งหลายที่กล่าวมานี้ล้วน สร้างอณุมูลอิสระให้ร่างกายทั้งสิ้นเพราะเราต้องอยู่ในสังคม เราต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน เราใช้อากาศ น้ำ และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ควันพิษจากท่อไอเสีย รถยนต์เป็นสิ่งที่เลี่ยงได้ยากมากสำหรับชีวิตคนเมือง คาร์บอนไดออกไซน์เมื่อสูดเข้าระบบเดินหายใจสูงมากเกินปริมาณที่ร่างกายจะ กำจัดได้ ทำให้ระบบทางเดินหาย ใจเสียหาย ทำให้เลือดเสียหาย ทำลายอวัยวะภายในทุกระบบ แล้วชีวิตเราก็อยู่ในความเสี่ยงตลอดเวลาในทุกลมหายใจ ในอาหารทุกมื้อ แล้วเราจะปกป้องชีวิตเราได้ อย่างไร

    และแล้วธรรมชาติก็สร้างมนุษย์มาพร้อมกับเครื่องจักรอัจฉริยะที่สุด ที่ยังไม่สามารถหาเครื่องจักรที่มนุษย์คิดค้น และบอกว่านี้คือสุดยอดเทคโนโลยีมาเทียบได้เลย ร่างกายมนุษย์สามารถซ่อมตัวเอง ปกป้องตัวเองจากภัยคุกคาม การเจริญเติบโตของมนุษย์มาจากเซลล์เล็กๆ กว่า 100 ล้านล้านเซลล์ มีสมองที่เป็นระบบสั่งการที่ ซับซ้อนทั้งแบบกึ่งอัตโนมัติและแบบอัตโนมัติ มีประสาทโยงใยที่ค่อยส่งคำสั่งด้วยกระแสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีหัวใจเป็นปั๊มขนาดเล็กที่ทรงพลังมีหน้าที่สูบฉีดโลหิต ไปเลี้ยงเซลล์ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีปอดไว้กรองออกซิเจน มีตับไว้ชำระล้างสารพิษ มีไตคอยรับของเสียจากร่างกายและขับออกทิ้ง มีต่อมไร้ท่อที่ค่อยผลิต ฮอล์โมนและสารเคมีเพื่อควบคุมการทำงานด้านอารมณ์ มีเซลล์กล้ามเนื้อมากกว่า 10,000 มัดที่ไว้ใช้ในการพยุงร่างกายให้เดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างคล่องตัว มีกระดูกเป็นเกราะค่อยป้องกันอวัยวะภายในจากความเสียหายจากภายนอก สร้างเซลล์ผิวหนังไว้เพื่อห่อหุ้มร่างกายเพื่อปกป้องทั้งชีวิตและอีกมากมาย หลายหน้าที่ใน หลายๆอวัยวะ

    การมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ต้องใช้พลังงาน และพลังงานก็มาจากสารอาหาร และสารอาหารก็มาจากอาหารที่เรากินเข้าไป ขบวนการทั้งหมดจะเปลี่ยนสภาพจากอาหาร เป็นสารอาหารและเป็นพลังงานได้ต้องใช้เอ็นไซม์เป็น ตัวย่อย และเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดอันดับแรกของการดำรง ชีวิตมนุษย์ เมื่อเซลล์ได้รับสารอาหารที่ดีและมีคุณภาพเซลล์ก็แข็งแรง ถ้าเป็นเซลล์หัวใจ หัวใจก็แข็งแรง ถ้าเป็นเซลล์ปอด ปอดก็แข็งแรง ถ้าเป็นเซลล์ตับ ตับก็แข็งแรง เป็นต้น โดยปกติเซลล์ ดี เอ็น เอ (D N A) ของร่างกายจะมีการแบ่งตัวสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนกันทุกวัน เพราะเนื่องจากความเสื่อมสภาพของเซลล์อันเป็นผลมาจาก เสื่อมสภาพโดยธรรมชาติ หรือเสื่อมสภาพจากการขาดสารอาหาร หรือเสื่อมสภาพจากถูกอณุมูลอิสระโจมตี ถ้าโดยปกติเซลล์ ดี เอ็น เอ แข็งแรงและไม่มีอณุมูลอิสระ มาทำลายโครงสร้างบางส่วนก็จะแบ่งตัวเซลล์ใหม่ได้สมบูรณ์ แต่ถ้าเซลล์ ดี เอ็น เอ ไม่แข็งแรงก็อาจจะเกิดความผิดพลาดในการแบ่งตัว ทำให้เกิดเซลล์ผิดปกติขึ้น ซึ่ง เซลล์ผิดปกติก็ไม่สามารถรวมตัวอยู่กับเซลล์ปกติของอวัยวะนั้นๆได้ก็ต้องรอน เร่ไปตามกระแสโลหิต และคอยหลบเซลล์เพชฌฆาตหรือเซลล์เม็ดเลือดขาว ด้วยการใช้ เศษโปรตีนที่ย่อยไม่สมบูรณ์ สารอาหาร และซากเซลล์ที่ตาย มาเป็นอาหารและสร้างเป็นเปลือกห่อหุ้มตัวเองให้พ้นอันตรายจากเซลล์เพชฌฆาต เซลล์เม็ดเลือดขาว หรือเซลล์เพชฌฆาตนั้นโดยหน้าที่หลักคือการตรวจจับและทำลายเซลล์ผิดปกติและ เชื้อโรคที่บุกรุก ในขณะที่เซลล์ผิดปกติเดินทางอยู่ในกระแสโลหิตนั้นพบอวัยวะใด อ่อนแอเซลล์ผิดปกติก็จะเข้าโจมตีเพื่อยึดเป็นที่อยู่ เราเรียกอวัยวะที่ถูกเซลล์ผิดปกติเข้าไปทำลายนี้ว่า “มะเร็ง” แต่ถ้าในกระแสโลหิตมีเอ็นไซม์โปรติเอสอยู่จำนวน มากพอสมควร เซลล์ผิดปกติก็ไม่มีโอกาสที่จะไปทำลายและยึดเกาะกินอวัยวะที่อ่อนแอได้ เพราะเนื่องจากจะถูกเอ็นไซม์โปรติเอสเข้าไปย่อยเปลือกหุ้มเซลล์ผิด ปกติและเผยตัวเซลล์ที่แท้จริงออกมา ทำให้เม็ดเลือดขาวหรือเซลล์เพชฌฆาตเห็นและเข้าไปทำลายได้ทันที





อาหารขยะ “Junk Food”

ทุกวันนี้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมากทำให้ วิถีชีวิต   และพฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปต้องฝากท้อง   กับอาหารสำเร็จรูป และอาหารด่วนซึ่งส่วนใหญ่มาในรูปอาหารตะวันตก ประเภทสะดวก และรวดเร็ว ทำให้ร้านสะดวกซื้อมีเพิ่มมากขึ้น เพราะซื้อหาได้ทั่วไป ถุกปากคนรุ่นหใม่ ใส่บรรจุภัณฑ์ เก๋ไก๋ พกพาสะดวก


คำว่า “Junk Food” เป็นศัพท์แสลงของอาหารที่มีสารอาหารจำกัดหรือที่เรียกว่า “อาหารขยะ” หมายถึง อาหารที่ให้ประโยชน์ทางโภชนาการน้อย และถ้ากินมากหรือกินประจำจะเป็นโทษต่อร่างกาย อาหารขยะส่วนใหญ่ประกอบด้วย น้ำตาล ไขมัน และแป้ง แต่มีส่วนประกอบของโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่น้อยมาก เช่น ลูกอม น้ำอัดลม อาหารจานด่วนบางชนิด ขนมขบเคี้ยว บะหมี่ซอง อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแป้งที่ขัดสีเอาเส้นใยและวิตามินออกหมด ใช้น้ำตาลที่ผ่านการฟอกขาว แล้วเติมด้วยสารแต่งสี/กลิ่น ผงชูรส ตามด้วยกระบวนการทอด เป็นต้น


 
การบริโภคอาหารขยะเป็นประจำเป็นสาเหตุให้ ร่างกาย ขาดสารอาหาร โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย เสี่ยงต่อภาวะการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไข้อ และโรคอ้วน ซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองด้วย เช่นปัญหาด้านความจำของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน หรือคนที่ชอบบริโภคอาหารประเภทไขมันสูง   ทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ Low Density  Lipoprotein (LDL) และปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูงจากงานวิจัยของ จอห์น   มอร์เลย์และคณะ   แห่งมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูริ พบว่าในหนูที่กินอาหารไขมันสูง  จะมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์สูง    ซึ่งปริมาณไตรกลีเซอไรด์ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นสาเหตุทำให้เสียความทรงจำ โดยศึกษาทดลองให้หนูกินยาที่มีผลลดปริมาณไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลให้น้ำหนักตัวลด พบว่าผลทดสอบด้านความจำดีขึ้น
http://www.vcharkarn.com/uploads/159/159781.jpg

นอกจากนี้อาหารขยะยังเป็นสารก่อภูมิแพ้ (allergen) ที่ถูกมองข้าม เนื่องจากอาหารขยะมีการดัดแปลงและปรุงแต่งโดยมีการใช้สารในกลุ่มสารแต่งสีอาหาร เช่น ทาร์ทราซีน (tartrazine) ให้สีเหลืองส้นอะมาเรนท์ (amaranth) ให้สีแดง เป็นต้น ซึ่งพบได้ในขนมและน้ำอัดลมต่างๆ ที่มีสีสันสดใส กลุ่มสารกันบูด เช่น กรดเบนโซอิก (benzoic acid) โซเดียมเบนโซเอท (sodium  benzoate) ซึ่งมักพบในอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ กลุ่มสารกันหืน ได้แก่ สารบิวทิลเลตไฮดรอกซีอะนิโซล (butylated  hydroxyanisole) ซึ่งมักพบในอาหารประเภททอด ขนมกรุบกรอบ ไอศกรีม มาการีน เป็นต้น กลุ่มสารเพิ่มเนื้อและสารที่ทำให้ข้น เพื่อให้ปริมาณดูมากขึ้น ได้แก่ วุ้น (agar) คาร์ราจีแนน (carrageenan) ซึ่งมักพบในอาหารประเภทไอศกรีม เยลลี ครีมแต่งหน้าเค้ก เนยแข็ง กลุ่มผงชูรส ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดอาการผื่นแดงและอักเสบของผิว สำหรับคนที่มีแนวโน้มผิวแพ้ง่าย สารในกลุ่มเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งอาหารขยะซึ่งเป็น สารก่อภูมิแพ้


จุดเริ่มต้นของการใช้ เอนไซม์บำบัด

การใช้เอนไซม์บำบัด (Enzyme Therapy), การมีเอนไซม์บกพร่อง (Enzyme Deficiency)เกิดจากหลายสาเหตุ


เอนไซม์


1. ถ้าทุกคนกินอาหารที่ปรุงแต่งอย่างปัจจุบันต้องมีปัญหาการขาดเอนไซม์ 
Dr. Dick Couey อาจารย์โภชนาการของBayloy University กล่าวว่า ในปัจจุบันพวกเรากินอาหารที่ไม่มีเอนไซม์ เพราะเป็นอาหารปรุงสำเร็จ (Processed) หรือ เอามาหุงต้ม (Cooked) ทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย  ดร.คูอี้ได้ย้ำว่า ตนเองจะไม่กินอาหารอีกถ้าไม่มีเอนไซม์เสริมมากินร่วมด้วย (I will never eat another meal without taking a plant enzyme supplement)
ตามทฤษฎี ร่างกายต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzyme) เพื่อย่อยอาหาร ถ้ามีเอนไซม์จากอาหาร (Food Enzyme) มาเสริมด้วยกัน จะช่วยย่อยได้ครึ่งหนึ่ง แต่อาหารที่กินในยุคสมัยนี้ไม่มีเอนไซม์ตามธรรมชาติ เพราะถูกทำลายจากการหุงต้ม ดังนั้นร่างกายจึงต้องไปดึงเอาเมตาบอลิค เอนไซม์ มาเปลี่ยนโฉมให้เป็นเอนไซม์ย่อยอาหาร ถ้าทำบ่อยๆ จะมีระดับเอนไซม์ (เมตาบอลิค) บกพร่อง และเป็นต้นเหตุของโรคต่างๆ



2. ธรรมชาติสร้างตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibition) ไว้กับพืช  พืชซึ่งมนุษย์ใช้กินทุกชนิด มีเอนไซม์ทำการย่อยอาหารอยู่ในตัวของมันเอง มีตัวห้ามหรือตัวยับยั้งเอนไซม์ ยังไม่ยอมให้ทำงานจนถึงเวลาอันควร เช่นเมื่อผลไม้ต้องสุกตามฤดูกาล  โดยปกติตัวห้ามเหล่านี้จะเริ่มอ่อนแรง หรือหมดสภาพ ก็โดยสิ่งแวดล้อมรอบตัวมันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อเราเคี้ยวอาหารในปากก็คือ เรากำลังทำให้สภาวะเดิมรอบข้างของตัวห้ามเปลี่ยนไปจนตัวห้ามหยุดทำงาน ทำให้เอนไซม์ในอาหารเป็นอิสระ เพราะไม่มีอะไรมายับยั้ง แต่อย่างไรก็ดี ตัวห้ามก็ยังมีจำนวนสูงอยู่มากในพืชบางระยะของการเจริญเติบโต เช่น ยอดใบไม้ ยอดผัก พืชยังอ่อน เป็นต้น


ในบางกรณี ท่านอาจกินอาหารประเภทยอดผักอ่อนสดๆ ท่านก็จะกินตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme Inhibitor) เข้าไปมากจนพลอยเข้าไปห้ามการทำงานของเอนไซม์ที่ผลิตออกจากตับอ่อนของตัว ท่านเองเข้าไปด้วย กลายเป็นมีเอนไซม์ ติดลบ
 

ทางเลือกที่หนึ่งคือ ท่านอาจจะต้องกินเอนไซม์เสริมชดเชย
ทางเลือกที่สองคือ เอายอดผักมาต้ม เพื่อจะให้ความร้อนทำลายตัวห้าม (Inhibitor) แต่ก็จะพลอยทำลายเอนไซม์จากพืชซึ่งเป็นอาหาร (Food Enzyme) พร้อมกันไปเลยด้วย



3. อายุมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของร่างกายลดลง
ในสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์โรงพยาบาลไมเคิล รีส รัฐชิคาโก ได้ทำการวิจัยหาค่าของเอนไซม์อไมเลส (Amylase) ในน้ำลายจากคน 2 กลุ่มอายุด้วยกัน คือ กลุ่มหนุ่มสาว (21-31 ปี) กับกลุ่มคนชรา (69-100 ปี) พบว่า กลุ่มหนุ่มสาวมีเอนไซม์อไมเลสซึ่งใช้ย่อยอาหารประเภทแป้ง มากเป็น 30 เท่าของกลุ่มผู้สูงอายุ นี่คือเหตุผลที่ว่าเมื่ออยู่ในวัยหนุ่มสาว กินอาหารประเภทสำเร็จรูป และ อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast Food) โดยไม่มีปัญหาการย่อย ไม่มีทางเจ็บป่วย แต่เมื่อแก่ตัว เอนไซม์ลดลง จะย่อยอาหารต่างๆ ได้ลำบาก ทำให้มีอาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง และถ้าพฤติกรรมการบริโภคยังเป็นอยู่อย่างนี้ (Poor Eating Habits) ท่านอาจแก่ตัวเร็วกว่าเพื่อนๆ ของท่านได้



4. มีสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การย่อยอาหาร (Digestion) บกพร่อง วิธีง่ายๆ ในการแก้ไขคือ ให้กินเอนไซม์ที่ผลิตมาจากพืชจะทำให้อาการกระเพาะและลำไส้แปรปรวนทุเลาลง ได้  ถ้าศึกษาย้อนกลับไปหาสาเหตุก็คือ การย่อยอาหารไม่ดี การมีสารพิษ (Toxin) เนื่องจากมีกากอาหารที่ไม่ย่อย หมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาการต่างๆ ดังกล่าว เชื่อว่าการกินเอนไซม์เสริมชนิดช่วยย่อยจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด


ถึงแม้ร่างกายผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอาหารได้เอง แต่สาเหตุที่ทำให้ผลิตเอนไซม์บกพร่อง ทั้งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ที่พบบ่อยคือ
 

1.ขาดการออกกำลังกาย และอยู่ในที่สิ่งแวดล้อมมีมลภาวะ (Poor Life Style)
2.มีความเครียดทั้งทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ (Stress Physical or Mental)
3.ดื่มสุรา อาหาร หรือน้ำไม่สะอาด (Alcohol, Polluted Food or Water)
4.กินอาหารปรุงสำเร็จซึ่งเอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย (Not just Fast Food, Eat even Cooked Food)

ทำไมเราต้องใช้ เอนไซม์ในการบำบัดร่างกาย

อาการเจ็บป่วยและโรคต่างๆที่ควรใช้เอนไซม์บำบัดร่วมด้วย คือ


ระบบไหลเวียนของโลหิต (Circulation) เอนไซม์มีความสำคัญในการป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน (Blood Clot) ลดความเหนียว (Stickiness) ของเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงในหลอดโลหิต และโคเลสเตอรอลลดความเข้มข้นลง ซึ่งในด้านสุขภาพ ถ้าเลือดดี ทุกอย่างในร่างกายก็เป็นปกติ


ลดการอักเสบ (Inflammation) เพราะเอนไซม์มีหน้าที่ซ่อมแซมและเนื้อเยื่อต่างๆ (Tissue Repair) เร่งสร้างเซลล์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งมันสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม


กำจัดสิ่งแปลกปลอมในเลือด ทั้งสารพิษ (Toxin) ที่ดูดซึมจากลำไส้ใหญ่ รวมกับสารอาหารที่ย่อยไม่สมบูรณ์ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปกติ


โรคเอดส์ (AIDS) คือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือบกพร่องมิได้เป็นเองตั้งแต่เกิด แต่ติดเชื้อไวรัสที่เรียก Human Immuno-deficiency Virus หรือ HIV (เอช ไอ วี)ติดต่อกันโดยทางเพศสัมพันธ์ หรือทางเลือดหรือ จากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารกในครรภ์


ท้องขึ้นท้องเฟ้อ จากอาหารไม่ย่อย (Indigestion) ปากอาจเปื่อย ผายลมมีกลิ่นเหม็น บางครั้งจะนอนไม่หลับ
ท้องร่วงสลับกับท้องผูก ในรายท้องร่วง บางครั้งอุจจาระมีไขมันปนมาก



โรคต่างๆ และอาการไม่สบายซึ่งเอนไซม์บำบัดควรมีส่วนเกี่ยวข้อง
 

เอนไซม์ย่อยไขมันในเลือดทำให้โคเลสเตอรอลลดลง ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์จะทำให้เลือดไหลผ่านหลอดโลหิตที่ตีบตันไปได้ยาก ความดันโลหิตจึงต้องเพิ่มสูงขึ้นเพื่อขับดันเลือดไหลผ่าน และหัวใจซึ่งต้องการเลือดจำนวนมากมาหล่อเลี้ยงเพราะ ต้องทำงานหนักขึ้น ก็อาจได้รับไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart) ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจพิการได้


โรคอ้วน คือ สภาวะร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป มีได้หลายสาเหตุ เช่น กินจุแต่ออกกำลังน้อย ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ ศูนย์ควบคุมความอิ่มของสมองส่วนล่าง (Hypothalamus) ถูกกระทบ กระเทือน กรรมพันธุ์ รวมทั้ง เกิดจากความเครียด การใช้เอนไซม์ย่อยไขมันจะช่วยได้แต่ เป็นการบำบัดตรงปลายเหตุ


การอักเสบต่างๆ รวมทั้งการมีบาดแผล เอนไซม์จะย่อยหนอง (Pus) กำจัดโปรตีนที่แปลกปลอม เอนไซม์จะเข้าไปย่อยเปลือกผิวออก ทำให้ภูมิคุ้มกันสามารถเข้าถึงและทำลายเชื้อโรคต่างๆ ได้ เอนไซม์ทำให้เลือดไหลเวียนดี ผิวหนังจึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนสมบูรณ์ เซลล์เกิดใหม่ง่าย แผลหายเร็ว ในปี ค.ศ.1977 มีการใช้มะละกอปิดแผลผ่าตัด เล่ากันว่า วิธีนี้ทำให้แผลหายเร็วขึ้น


อาการอ่อนเพลีย (Chronic Fatigue Syndrome) ความเครียดทำให้รู้สึกไม่มีแรง  การใช้เอนไซม์เสริมก็จะทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ทำงานปกติ  ของเสียจะถูกพาออกมาทิ้งนอกเซลล์ จึงสดชื่นแข็งแรง และถ้าเชื้อไวรัสเป็นต้นเหตุอ่อนเพลียเรื้อรัง เอนไซม์ร่วมกับภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้นจะกำจัดไวรัสให้หมด โดยเอนไซม์จะย่อยโปรตีนหุ้ม   (Protein Film) ไวรัส


โรคภูมิแพ้ เกิดจากมีความไวค่อนข้างสูงเกินไปของปฏิกิริยาเคมีในร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม และถ้าเป็นมากอาจหมดสติ ถึงตายได้ การแพ้ (Allergy) นี้พบได้มากกว่าร้อยละ 15 ของคนทั่วไป
เอนไซม์เสริมจะช่วย ย่อยอาหารให้สมบูรณ์จนไม่เกิดมีอณูใหญ่หลงเข้ามาในกระแสโลหิต และเมตาบอลิค เอนไซม์จะย่อยสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในเลือดจนหมด ทำให้อาการแพ้ต่างๆ ทุเลาลงได้ ในกรณีที่คนไข้เป็นโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง (โรคเอสแอลอี SLE)ซึ่งเกิดจากการผิดปรกติของภูมิต้านทาน(Antibody) ซึ่งจะมีผลกับข้อต่อ เยื่อเมือก ผิวหนัง และอวัยวะภายใน การใช้เอนไซม์เสริมร่วมในการรักษาด้วยจะทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น


การรักษาโรคภูมิแพ้ ท่านควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ กินยาอย่างเดียวไม่พอ ต้องกำจัดสาเหตุของการเกิดโรคด้วยจึงจะหายอย่างถาวร 

มนุษย์เรานั้นชอบกินฝืนกฎธรรมชาติ

 มนุษย์เรานั้นชอบกินฝืนกฎธรรมชาติ
  1. มนุษย์เป็นสัตว์ โลกชนิดเดียวที่ต้องหุง ต้ม ปิ้ง เผาอาหารก่อนกิน ซึ่งผิดธรรมชาติไม่มีสัตว์ชนิดไหนทำกัน เอนไซม์ในอาหารจึงถูกทำลาย สัตว์ที่เลี้ยงไว้ก็พลอยต้องกินอาหารต้มสุกตามนายไปด้วย
  2. ธรรมชาติกำหนด ให้ มนุษย์เป็นสัตว์กินพืชผักเป็นหลัก เห็นได้จากฟันมีไว้กินพืช ไม่มีฟันซี่ใหญ่หรือเขี้ยวเพื่อไว้กัดหรือฉีกเนื้อ ขากรรไกรเล็ก มีลำไส้ค่อนข้างยาว ลำไส้สัตว์ที่กินเนื้อจะมีลำไส้สั้น ดังนั้นมนุษย์กินเนื้อจึงฝืนธรรมชาติ
  3. มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดเดียวที่กินน้ำมันที่ผ่านการกลั่นกรองเป็นอาหาร ซึ่งผิดธรรมชาติ
  4. มนุษย์เป็นสัตว์ โลกชนิดเดียวที่กินน้ำตาลทรายซึ่งเป็นอาหารที่ตายแล้ว และเป็นยาเสพติดอันดับ 1 เป็นอาหารประจำวัน ซึ่งผิดธรรมชาติไม่มีสัตว์ชนิดไหนทำกัน
  5. โดยธรรมชาติสัตว์เมื่อเลยระยะหย่านม จะเลิกกินนม แต่มนุษย์ยังคงกินนม และกินจนโตจนแก่
ขอเรียงลำดับเหตุการณ์ใหม่จะเป็นดังนี้
  1. การกินอาหารที่ปรุงสำเร็จ ทำให้ ->
  2. อาหารที่กินเป็นอาหารตาย เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย ทำให้ ->
  3. ร่างกายต้องสร้างเอนไซม์ย่อยอาหารเพิ่มขึ้นมากเพื่อชดเชยเอนไซม์ที่ควรจะได้จากอาหาร ทำให้ ->
  4. เมตาบอลิค เอนไซม์เอนไซม์ต้องเปลี่ยนโฉมไปทำหน้าที่ย่อยอาหาร และจำนวนที่สะสมในร่างกายก็ลดลง ทำให้ ->
  5. ร่างกายขาดความสามารถในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ที่บกพร่อง ระบบภูมิคุ้มกันโรคลดต่ำ ทำให้ ->
  6. แก่เร็วสุขภาพเสื่อม เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ ->
  7. ตายเร็วในวัยที่ยังไม่สมควร 
สาเหตุการผลิตเอนไซม์บกพร่องที่พบบ่อยๆคือ
  • ขาดการออกกำลังกายและอยู่ในที่สิ่งแวดล้อมมีมลภาวะ (Poor Life Style)
  • มีความเครียดทั้งทางร่างกาย หรือ ทางจิตใจ (Stress Physical or Mental)
  • ดื่มสุรา อาหาร หรือน้ำไม่สะอาด(Alcohol, Polluted Food or Water)
  • กินอาหารปรุงสำเร็จซึ่งเอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย  (Not just Fast Food, Eat even Cooked Food) 

การใช้ เอนไซม์สำหรับผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ร้อยละ 65 ขาดเอนไซม์ย่อยนม





ผู้ใหญ่ 2 ใน 3 คน ไม่มีการผลิตเอนไซม์แลคเตสเมื่อโต การกินนมจึงเกิดปัญหาคือ นมไม่ย่อย ท้องอืด ปวดท้องและท้องร่วง อาการไม่ทนต่อน้ำตาลแลคโตส (Lactose Intolerance)


วิธีทดลองว่ามีปัญหา การไม่ย่อยนมหรือไม่ คือ ดื่มนม 2 แก้วเวลาท้องว่าง ถ้าแพ้นม อีก4ชั่วโมงต่อมาจะเริ่มมีอาการปวดท้องแน่น มีลมในลำไส้มาก และอาจท้องร่วง


โดยธรรมชาติร่างกายจะ ไม่ผลิตเอนไซม์แลคเตสเมื่อหยุดกินนมหรือผลิตบ้างแต่มีจำนวนไม่พอเพียง มนุษย์เป็นสัตว์ประหลาดชนิดเดียวในโลกที่โตแล้วยังกินนม

เราควรกิน เอนไซม์ ตอนไหนจะดีที่สุด

เราควรกิน เอนไซม์ ตอนไหนจะดีที่สุด เอนไซม์ต้องกินขณะท้องว่าง เพราะถ้าเราจะกิน "เอนไซม์เพื่อขับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย" ต้องกินขณะท้องว่าง 


โปรตีเอสทำหน้าที่เม ตาโบลิค เอนไซม์ต้องกินขณะท้องว่าง กินเอนไซม์โปรตีเอสเป็นอาหารเสริม เพื่อให้ทำลายโมเลกุลโปรตีนที่แปลกปลอมเข้ามาในเลือด ต้อง “ไม่กินพร้อมอาหาร” ให้กินเวลาท้องว่าง เช่น 1 ชั่วโมงก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร เอนไซม์โปรตีเอสจะซึมเข้ากระแสโลหิตได้ภายใน 5 นาที มิฉะนั้นมันจะหมดเปลืองจากการไปทำหน้าที่ย่อยอาหารเสียก่อน ถ้ากรณีมีอาหารอยู่ในกระเพาะ จนไม่เหลือเข้ากระแสเลือดตามต้องการ


เอนไซม์ที่อยู่ใน เลือดจะทำหน้าที่กวาดขยะในเลือด (Scavenger Enzyme) การใช้เอนไซม์โปรตีเอสเป็นอาหารเสริม ทำให้เลือดสะอาดปราศจากขยะอาหาร เรียกว่า “เอนไซม์กวาดขยะ”
เอนไซม์โปรตีเอสนี้จะย่อยเฉพาะโปรตีนที่ไม่มีชีวิต จะย่อยเยื่อหุ้มแบคทีเรียที่เป็นโปรตีน ทำให้แบคทีเรียตายได้ ไวรัสย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นการขาดหรือบกพร่องเอนไซม์โปรตีเอสในเลือดจึงทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกาย บกพร่อง 



เอนไซม์โปรตีเอสเมื่อ กินเวลากระเพาะว่าง สามารถซึมเข้ากระแสเลือดได้ใน 5 นาที และจะไปจับกับโปรตีนชนิดก้อนในเลือด (Alpha 2 Macroglobulin) กลายเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ขณะที่ผ่านกระเพาะอาหารจะไม่ถูกทำลายหรือถูกย่อยโดย เปบซินและกรดเกลือในกระเพาะเหมือนที่เคยเชื่อกัน เมื่ออยู่ในกระแสโลหิตทำหน้าที่กวาดขยะ (Scavenger) ทำให้รักษาโรคอันเกิดจาการติดเชื้อ (Infection) มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น


การรับประทานเอนไซม์เสริมจะเลือกวิธีใดแล้วแต่จุดประสงค์การใช้


เราจะกินเอนไซม์เสริมขนาดเท่าใด กินเมื่อไร ขึ้นอยู่กับสภาวะของความรู้สึกไม่ค่อยสบายของท่าน 
ซึ่งท่านต้องปฏิบัติดังนี้ 

1.ถ้าต้องการใช้ ย่อยอาหาร ให้การย่อยดีขึ้น ก็ต้องรับประทานเอนไซม์พร้อมอาหาร โดยแนะนำให้กินทันทีก่อนอาหาร (Immediately Before Meal) คือ พอจะตักอาหารเข้าปากคำแรกก็กินเอนไซม์ก่อนพร้อมกับดื่มน้ำสะอาด 1 แก้ว (8 ออนซ์ หรือ 240 ซีซี)   

2.ถ้าต้องการให้ ทุเลาอาการของโรคอื่นๆ ให้รับประทานเอนไซม์ในระหว่างอาหาร คือ 20 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก่อนอาหาร (Twenty minute to one before eating) การใช้คำว่า “ระหว่างอาหาร” (Between) อาจทำให้สับสนได้ เพราะบางท่านคิดว่า หมายถึง “กำลังกินอาหารอยู่” ซึ่งไม่ใช่ เจตนารมณ์ คือ “ท้องว่าง” (Empty Stomach)  

3.ในระหว่างที่กิน เอนไซม์เป็นอาหารเสริม ต้องดื่มน้ำแร่ (Mineral Water) อย่างน้อยวันละ 8 แก้วต่อวัน และทุกครั้งที่กินเอนไซม์ต้องดื่มน้ำตาม 1 แก้ว  

4.ทางแพทย์ถือว่า “คนสองคนไม่เหมือนกัน” ถึงแม้จะทำโคลนนิ่งก็ตาม การบกพร่องเอนไซม์แต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ขนาดของเอนไซม์ที่จะใช้เป็นอาหารเสริม จึงไม่สามารถกำหนดให้เป็นเลขตัวเดียวตายตัวได้ โดยความเห็นของเภสัชกร จะกำหนดให้รับประทานมื้อละ 1-2 แคปซูล สูงสุดก็ 3 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง จึงต้องสังเกตด้วยตัวท่านว่าขนาดกินเท่าใดจะเหมาะสมกับตนเอง อาการดีขึ้นก็อาจลดขนาดลง อาจารย์ของข้าพเจ้าเคยสอนไว้ว่า “หมอที่ดีที่สุดก็คือ ตัวคนไข้เอง” ท่านต้องปรึกษาแพทย์เพื่อขอปรับจำนวนอาหารหรือยาตามสภาวะความรุนแรงของความ เจ็บป่วย  

5.การกินเอนไซม์ เสริมมักจะมีเอนไซม์หลายชนิดรวมกันแบบครอบจักรวาล (ชนิดแยกเป็นตัวๆ เพื่อให้ตรงกับโรค แพทย์จะเป็นผู้ใช้) เนื่องจากกินวันแรกๆ เอนไซม์ไลเปสจะย่อยไขมันในเลือด และสารพิษ (Toxin) เมื่อไขมันถูกย่อย สารพิษจึงออกมาจากไขมันและเป็นอิสระในเลือดมีระดับสูงในร่างกายทำให้เกิด อาการโลหิตเป็นพิษอย่างอ่อนๆ บางคนอาจจะไม่สบายซึ่งเป็นอาการที่เรียก “วิกฤติการซ่อมแซม” (Healing Crisis) รู้สึกผิดปกติอยู่ 3-7 วัน แล้วแต่บุคคล หลังจากนั้นก็หายไปเอง การดื่มน้ำมากๆ จะช่วยให้ขับถ่ายพิษออกจากร่างกายเร็วขึ้น  

6.กินเอนไซม์เพื่อ ช่วยย่อยอาหาร ขอแนะนำว่าให้ท่านกินก่อนนอนซึ่งท้องว่าง 1 หรือ 2 แคปซูลร่วมด้วย เพื่อให้โอกาสที่เอนไซม์จะเข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง จะได้ไปทำความสะอาดสารอาหารที่ผิดขนาดต่างๆ หรือสารพิษในเลือดซึ่งเรียกว่า Scavenger Enzyme  

7.ผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เอนไซม์เสริมและขอแนะนำว่า ในกรณีนี้ ห้ามกินเอนไซม์ระหว่างอาหาร (คือ ท้องว่าง)ในระยะเริ่มต้น

    เหตุผลที่ต้องกิน เอนไซม์เสริม

    วันนี้เรามาดูเหตุผลดีๆที่ต้องกิน เอนไซม์เสริม กันครับ

    มีคนบอกว่า " จงทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย " ( Make it Simple )
     

    นักปรัชญาท่านหนึ่งกล่าวว่า มุมมองที่สำคัญของชีวิตคือ จงมองทุกสิ่งที่ยากให้เป็นเรื่องง่าย และกฎข้อแรกคือ “ถ้าจำเป็นแต่ไม่มี ก็หามา ถ้าไม่พอ ก็เอามาเสริม”ฟังดูธรรมดาดี ท่านจะนำไปใช้ในชีวิตจริงก็ไม่ผิดระเบียบอะไร

    เอนไซม์เสริม (Enzyme Supplement)
    ปู่ ย่า ตา ยาย มีอายุยืนยาวอยู่กันมาได้ไม่ต้องกินอาหารเสริมหรือกินเอนไซม์เสริม ถือว่าโชคดี เพราะเกิดมาในขณะที่สิ่งแวดล้อมสะอาด อาหารสด ไม่มีการใช้ยาฆ่าแมลง ไม่มีการเติมสารเคมีให้พืชผัก ถ้าเราไปอ่านรายงานสถิติชีพของกระทรวงสาธารณสุข ย้อนหลังกลับไป จะพบว่าโรคหัวใจ เบาหวาน ข้ออักเสบ และมะเร็งในสมัยนั้น แทบจะไม่มีให้เห็น ซึ่งคำว่ามะเร็งในสมัยนั้น จะเป็นคำที่แปลกประหลาดไม่เคยได้ยินมาก่อน


    อาหารในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำกว่าเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
    การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ทำให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีมากและใช้ยาฆ่าแมลงอย่างหนัก ทำให้พื้นที่เพาะปลูก (Soil Quality) เสื่อมโทรม เป็นผลให้พืชผัก มีสารอาหารที่ไม่บริบูรณ์เหมือนแต่ก่อน การเก็บพืชผักผลไม้ก่อนกำหนด ทำให้ลดคุณค่าของอาหารลงไปอีก รวมทั้งรสชาติของผลไม้จะผิดไป การเลือกพืชเพื่อเพาะปลูกไว้จำหน่ายก็เลือกแต่พืชที่มีพันธุ์ทนแมลง ทนกับการขนส่งระยะไกล มากกว่าจะเลือกพืชเพื่อให้คนบริโภคได้คุณค่าทางอาหาร


    ในระยะแรก วิตามิน และเกลือแร่ เพียง 2 อย่างที่มีการมุ่งให้เป็นอาหารเสริม ใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ.2473), 

    Dr.Wolfe ชาวเยอรมันได้ค้นพบประโยชน์และวิธีการใช้เอนไซม์ที่มาจากสัตว์ (Animal Enzyme) และในเวลาไล่เลี่ยกัน Dr. Howell ชาวอเมริกันได้ศึกษาประโยชน์ของเอนไซม์จากพืช ผลการศึกษาและวิจัยของท่านทั้งสอง ปูทางไปสู่การใช้เอนไซม์มาเป็นอาหารเสริมในปัจจุบัน (EnzymeSupplement)
    การวิจัยในปี ค.ศ.1940 (พ.ศ.2483) ได้พิสูจน์ว่า ดี เอน เอ (DNA) ในเซลล์ของร่างกายเป็นผู้ควบคุมการผลิตเอนไซม์ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ เรามีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์ และถ้าเราแก่ตัวลงมาเมตาบอลิค เอนไซม์ก็จะผลิตได้น้อย เต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ แท้ที่จริงเกิดจากพื้นฐานของการขาดเอนไซม์ (Low Enzyme Level)

    วิชาเอนไซม์ (Enzymology) เป็นวิชาใหม่เอี่ยมเกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.2528 และการใช้เอนไซม์เสริม (Enzyme Supplement) เริ่มเป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพก็ราว พ.ศ.2538 นี้เอง

    เหตุผลสำคัญที่จำเป็นต้องกินเอนไซม์เสริม
    คือ ร่างกายผลิตเอนไซม์ได้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
     

    การทดลองที่โรงพยาบาลไมเคิลรีส (Michael Reese) สหรัฐอเมริกา ที่แสดงให้เห็นว่าเอนไซม์ (อไมเลส) ในน้ำลายของคนเราเมื่อวัยหนุ่มสาว (21-31 ปี) มีมากกว่าคนชรา (61-100 ปี) ถึง 30 เท่า ไม่มีปัญหาการย่อยอาหาร แต่เมื่อแก่ตัวลงกลับกินไม่ได้ เพราะเอนไซม์ย่อยอาหารเจือจางลง ทำให้อาการผิดปกติต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
     

    การศึกษาของบาร์โตส และโกรช (Bartosและ Groh)โดยใช้ยากระตุ้นน้ำย่อยจากตับอ่อนแล้วมาวัดหาจำนวนเอนไซม์ (อไมเลส)พบว่า คนแก่จะมีเอนไซม์ออกมาน้อยกว่าคนหนุ่มสาวมาก เมตาบอลิคเอนไซม์ในเซลล์ต่างๆ ก็จะพลอยลดต่ำลงตาม ความชราก็จะปรากฎโฉมให้เห็นเร็วขึ้นเท่านั้น
    ตับอ่อนของมนุษย์มี น้ำหนักเพียง 3 ออนซ์ แต่ต้องทำงานหนักตลอดชีวิต มีผู้เปรียบเทียบไว้ว่า ตับอ่อนที่ผลิตเอนไซม์ก็เหมือนกับแม่พิมพ์ (Mold) ที่ใช้ปั๊มวัตถุดิบให้เป็นสินค้ารูปร่างต่างๆ เช่น ถ้วยแก้ว แม่พิมพ์ในอุตสาหกรรมก็มีอายุการใช้งาน ใช้นานๆ การปั๊ม จะลด จนต้องเลิกใช้งาน ตับอ่อนก็เช่นกัน ถ้าต้องปั๊มเอนไซม์ออกมามากๆ ก็ต้องหมดอายุเช่นกัน เราจึงควรจะให้ตับอ่อนของเราหมดอายุช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อประโยชน์ของสุขภาพตนเอง (The mold is good for number of copies before it has to be replaced)

    การหุงต้ม การเตรียมอาหาร และการเก็บอาหารเป็นต้นเหตุที่ทำลายเอนไซม์ที่มีอยู่ในอาหารทำ ให้อาหารที่กินไม่มีเอนไซม์ จำเป็นต้องใช้เอนไซม์ย่อยอาหารที่ร่างกายต้องผลิตออกมาเองจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลือง นอกจากนี้จำนวนเอนไซม์ที่ควรจะมีในอาหารตามธรรมชาติ ก็ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากในดินไม่มีแร่ธาตุเหมือนในอดีต  การใช้รังสีเพื่อถนอมอาหาร  การใส่สารกันเสีย การบรรจุกระป๋อง การใช้แก๊สบ่มผลไม้ ฯลฯ ล้วนทำให้เอนไซม์ในอาหารถูกทำลาย จำเป็นต้องกินอาหารเสริมและเอนไซม์เสริมเพื่อชดเชย และช่วยไม่ให้ร่างกายต้องผลิตเอนไซม์เพิ่มออกมา

    ทารกกินนมแม่ ได้เอนไซม์จากอาหาร (นมแม่)สมบูรณ์
    นมผง นมสดที่ใช้ความร้อนทำลายเชื้อโรค นมข้นหวาน ล้วนเป็นอาหาร (ของเด็กทารก) ที่ไม่มีเอนไซม์เหลืออยู่ เป็นต้นเหตุให้มีอาหารที่ย่อยไม่หมดไปหมักหมนในลำไส้ใหญ่ เกิดสารพิษซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้เด็กเจ็บป่วยง่าย มีการเก็บข้อมูลพบว่าเด็กที่กินนมขวด มีอันตรายสูงกว่าเด็กที่กินนมแม่ถึง 56 เท่า


    Dr.Andre Hakanson จากมหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน ค้นพบว่า ถ้าเขาเติมนมแม่ลงไปในเซลล์มะเร็งที่เพาะเลี้ยงไว้ที่เจริญงอกงามอยู่จะตาย หมด  เซลล์ดีๆ จะไม่ถูกทำลายเลย  และพบว่าการกินอาหารสดนี้เป็นประโยชน์เพราะมีเอนไซม์ ถ้ากินอาหารสดไม่ได้หรือไม่พอก็ควรกินเอนไซม์เสริมเข้าไปช่วย
    มีตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์อยู่ในอาหารตามธรรมชาติ เป็นจำนวนมาก (Natural Enzyme Inhibitor)
    อาหารที่มนุษย์กินทุกชนิดจะมีตัวห้าม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของพืชและสัตว์ที่จะควบคุมและป้องกันไม่ให้เอนไซม์ย่อย และทำร้ายตัวมันเอง หรือเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป หรือได้พาเอนไซม์ไปส่งถึงจุดมุ่งหมาย เมื่อเอนไซม์ขาดตัวควบคุมหรือขาดตัวห้าม เอนไซม์ก็จะเริ่มทำงานตามหน้าที่และบทบาทของมันอย่างสบาย


    อาหารประเภทถั่วชนิด ต่างๆ เมล็ดพืช ยอดผักหรือผลไม้ที่ยังอ่อน จะเป็นกลุ่มที่มีตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์อยู่มาก ดังนั้นการกินถั่วดิบๆ จึงทำให้เกิดอันตราย เพราะได้รับตัวห้ามเข้าไปมาก จนยับยั้งการทำงานหรืออาจทำลายเอนไซม์ของร่างกายได้อีกด้วย

    เราจะเป็นอย่างไรเมื่อขาด เอนไซม์

    สภาพของร่างกายเมื่อมีการขาดเอนไซม์เกิดขึ้น (Enzyme Deficiency Conditions)

    (Root) 2009924_34143.jpg

    อาการที่แสดงว่าร่างกายขาดเอนไซม์ (Enzyme Deficiency)

    อาการที่ท่านรู้สึกด้วยตัวเอง (Symptom)ว่าท่านน่าจะขาดเอนไซม์ คือ 
    • รู้สึกเหนื่อยหลังจากกินอาหารมื้อหนัก
    • อ่อนเพลียเป็นประจำ (Chronic Fatigue Syndrome)
    • ท้องผูก
    • ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ บางครั้งมีอาการจุกเสียด
    • ลมแน่นท้อง ผายลมมีกลิ่นเหม็น
    • อุจจาระจมน้ำ และอุจจาระเหม็นมาก
    • มีกลิ่นปาก
    • มีอาการของโรคภูมิแพ้ง่าย บางครั้งถึงขนาดหอบหืด
    • เวลาเป็นแผลจะหายช้า
    • น้ำหนักตัวเพิ่มง่าย
    อาการที่แพทย์ตรวจพบ (Sign)ว่าท่านกำลังขาดเอนไซม์ คือ
    • ตับอ่อนบวม
    • เม็ดโลหิตขาวเพิ่มจำนวนมากกว่าปกติหลังกินอาหาร 30 นาที
    • น้ำลายมีฤทธิ์เป็นกรด (pH ต่ำกว่า 7)
    • ในปัสสาวะมีสาร พิษมาก เกิดจากอาหารไม่ย่อยจึงบูดในลำไส้ใหญ่ ร่างกายจะดูดซึมพร้อมกับน้ำเข้าไปในกระแสเลือด ตับและไตจะกรองสารพิษเอาไว้ และจะขับสารพิษนี้ทิ้งออกทางปัสสาวะ
    • ระดับเอนไซม์ต่ำกว่าปกติในเลือด
    • ความดันโลหิตอาจสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย
    ในอดีต เมื่อเราพูดว่าร่างกายขาดเอนไซม์ คือสภาวะอาหารไม่ย่อยแต่เมื่อศึกษาค้นคว้ามากขึ้น ในปัจจุบัน เราพบอาการต่างๆ อีกมากมาย เราสามารถแบ่งสภาพของการมีเอนไซม์บกพร่องออกได้เป็น 3ชนิดคือ
    1. สภาพของการขาดเอนไซม์โปรตีเอส (ProteaseDeficiency Conditions)
    2. สภาพการขาดเอนไซม์อไมเลส (Amylase Deficiency Conditions
    3. สภาพการขาดเอนไซม์ไลเปส (Lipase Deficiency  Conditions)
    สภาพของการขาดเอนไซม์โปรตีเอส (Protease Deficiency Conditions)
    ร่างกายจะไม่สามารถย่อยโปรตีนให้มาเป็นสารอาหารชนิดกรดอะมิโน จึงเกิดอาการของโรคขาดโปรตีน (Protein Deficiency Symptom) มีความเป็นด่างสูงมากเกินไปในเลือด อาจมากกว่า pH 8.0 (Alkaline Excess) ซึ่งปกติมีค่า pH 7.4 การที่ร่างกายขาดความสมดุล (Homeostasis) เพราะด่างสูง กลายเป็นต้น



    เหตุของความรู้สึกกระวนกระวาย (Anxiety) จนบางคนต้องใช้ยากล่อมประสาทช่วย  ดังนั้นควรให้กินเอนไซม์เสริมชนิดโปรตีเอส ก็จะช่วยให้ดีขึ้น  ถ้าโปรตีนมีจำนวนต่ำในเลือด (Protein Deficiency) ทำให้เกิดอาการขาดแคลนแคลเซียมร่วมด้วย (Calcium Deficiency) แคลเซียมจะต้องอาศัยเกาะติดโปรตีนเมื่อเวลาไหลเวียนอยู่ในกระแสโลหิต  ทำให้มีอาการข้ออักเสบ (Arthritis) ตามมาพร้อมโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) หมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative Disc Problem) ฯลฯ ร้อยละ 45 ของโปรตีนในรูปของกรดอะมิโนจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในตับ การที่โปรตีนไม่สามารถถูกย่อยได้จึงทำให้เกิดสภาวะน้ำตาลกลูโคสต่ำในเลือด (Hypoglycemia) ตามมา เป็นเหตุให้สมองขาดน้ำตาลกลูโคส เกิดความรู้สึกหงุดหงิด (Moody) รำคาญ และฉุนเฉียวง่าย


    การขาดเอนไซม์โปรตีเอสก่อให้เกิดโรคขาดสารอาหารประเภทโปรตีน
     

    การขาดโปรตีนในเลือดทำให้เกิดอาการบวมทั้งตัว (Edema) การย่อยโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้มีกากอาหารที่ไม่ย่อย (Undigested Protien) ไปสะสมบริเวณลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นสาเหตุการเกิดสารพาลำไส้ใหญ่อักเสบ (Mucous Colitis) ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) และอาจถึงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) ได้ โรคตามมาที่คาดไม่ถึงคือ ในเด็กมักเป็นโรคช่องหูอักเสบเรื้อรัง หรือ หูน้ำหนวก (Otitis Media) กับโพรงจมูกของใบหน้าอักเสบ (Sinusitis) การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะและใช้เอนไซม์โปรตีเอสร่วมด้วยจะทำให้หายเร็วขึ้น


    ผลของการขาดโปรตีเอส ที่กระทบโดยตรงอีกประการก็คือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ เกิดการอักเสบได้ง่าย เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหลายเป็นโปรตีนหรือบางชนิดก็มีโปรตีนเป็นตัว หุ้ม และโปรตีเอสเป็นเอนไซม์ที่สามารถย่อยเยื่อหุ้มที่เป็นโปรตีนให้แตกออก เพื่อให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายเข้าถึงตัวและทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้โดย ง่าย


    สภาพการขาดเอนไซม์อไมเลส (Amylase Deficiency Conditions)
    เอนไซม์อไมเลสย่อย แป้ง ข้าว ให้เป็นสารประกอบเชิงเดี่ยว (Monosaccharide) เช่น น้ำตาลกลูโคส (Glucose) และย่อยเม็ดโลหิตขาวที่ตาย (คือ หนอง Pus)ให้หมด ไปดังนั้นถ้าร่างกายขาดเอนไซม์อไมเลส ท่านจะเกิดเป็นฝี (Abscess) ได้บ่อยๆ ผู้ป่วยที่ปวดฟัน เหงือกรอบฟันเป็นหนองง่ายมาก การที่กินหวานจัดๆ ร่างกายต้องใช้เอนไซม์อไมเลสมากจนผลิตไม่ทัน จึงทำให้เป็นฝีง่าย นอกจากนั้นยังเป็นที่ปอดและผิวหนังได้ง่ายอีกด้วย
     

    ปอดและผิวหนังเป็นอวัยวะที่สัมผัสกับโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยมลภาวะ การขาดเอนไซม์อไมเลสจึงทำให้เกิดอักเสบได้ง่าย ถ้าเป็นที่ปอดอาจจะแสดงอาการของโรคหืด (Asthma) และถุงลมพอง (Emphysema) ส่วนผิวหนังจะมีอาการของโรคผิวหนังเป็นสะเก็ดพุพอง มีน้ำเหลือง (Eczema) หรือเป็นโรคผิวหนังชื่อ สะเก็ดเงิน (Psoriasis) และโรคเริม (Herpes)การรักษาให้ใช้เอนไซม์เสริมเพื่อกินร่วมกับยา โดยให้มีเอนไซม์อไมเลสในสัดส่วนที่มากกว่าเอนไซม์อย่างอื่น


    สภาพการขาดเอนไซม์ไลเปส (Lipase Deficiency Conditions)
    เอนไซม์ไลเปสมีหน้าที่ย่อยไขมันและวิตามินชนิดละลายในไขมัน การขาดไลเปสจึงเกิดโคเลสเตอรอลสูงในเลือด(High Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์สูง (High Triglyceride) เป็นต้นเหตุของน้ำหนักตัวเกินกว่าปกติ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (Atherosclerosis) ความดันโลหิตสูง ตามมาด้วยโรคหัวใจขาดเลือด(Heart Inflection) โรคลมปัจจุบันหรือสมองขาดเลือด (Stroke)
    การขาดเอนไซม์ไลเปสทำให้ความสามารถของเยื่อหุ้มเซลล์บกพร่อง นั้นคือ สารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายไม่อาจจะซึมผ่านเข้าเซลล์ ส่วนของเสียภายในเซลล์ก็ขับออกมาทิ้งข้างนอกไม่ได้
    สำหรับอาการที่พบบ่อยๆ อีกอย่างคือ  กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง (Muscle Spasm) โดยเริ่มเจ็บร้าวจากบริเวณหน้าอก ไหล่ ลามมาที่คอ ดูคล้ายๆ คอเคล็ด บางครั้งมีกล้ามเนื้อเกร็งที่ลำไส้ใหญ่ (Spastic Colon) อาการต่างๆ ทั้งหมดนี้ ถ้ากินเอนไซม์ไลเปสก็จะช่วยให้ทุเลาขึ้น

    ตัวยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์

    ทุกคนคงเริ่มทราบแล้วนะครับว่า เอนไซม์ เป็นสิ่งมีประโยชน์มากที่สุดในการทำงานของร่างกายมนุษย์เรา ดังนั้นเราต้องป้องกันดูแลเอนไซม์ของเราให้ดีที่สุด วันนี้เราจะมาเรียนรู้กันว่าอะไรที่เป็นตัวยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ กันครับ


    (Root) 2009924_34143.jpg


    การกินไข่ขาวดิบๆ จะมีสารชื่อ อไวดิน (Avidin) เป็นตัวห้ามการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme inhibitor) โดยจะเข้าไปเบียดและแซงโคเอนไซม์ (Coenzyme) ซึ่งเป็นวิตามินบี (ไบโอติน – Biotin) ทำให้ไม่สามารถจับกับเอนไซม์คู่ของมันได้ตามปกติ ผลก็คือ เกิดขาดวิตามินบีได้ ไข่ขาวดิบๆ จึงไม่ควรกินเป็นประจำ การลวกไข่จะทำให้อไวดินถูกทำลายด้วยความร้อนจึงปลอดภัยในการบริโภค 


    การทำงานหนัก การออกกำลังกายมากเกินไปการ ออกกำลังกายระบบการเผาผลาญอาหารต้องทำงานเพิ่มขึ้น ถ้าแข่งกีฬาซึ่งต้องเอาแพ้เอาชนะกัน ยิ่งต้องใช้พลังงานสูงมาก ย่อมหมดเปลืองเอนไซม์
    การออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬา หรือทำงานหนัก ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เป็นการเร่งเอนไซม์ให้ทำปฏิกิริยาเคมี เกิดความหมดเปลื้องสูง การผลิตเอนไซม์จึงเพิ่มขึ้นกระทบไปหมด ทั้งตามอวัยวะต่างๆ ทั้งตามกล้ามเนื้อ ทำให้เอนไซม์ที่เคยสะสมไว้ใช้ขาดแคลน (Inadequate) เรื้อรัง จนต้องหามาเสริม(Supplement) จากภายนอกเท่านั้นจึงจะเกิดสมดุล

    อนึ่ง นักกีฬามักบาดเจ็บเสมอในการแข่งกีฬาทำให้ร่างกายมีการใช้เอนไซม์เพิ่มขึ้นไป อีก โค้ช (Coach) ชาวต่างประเทศรุ่นใหม่ส่วนใหญ่รู้เรื่องเอนไซม์ดีมาก เพราะจะต้องผ่านการอบรมเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งสอนหนักเรื่องโภชนาการเรื่องน้ำดื่ม และเอนไซม์รวมอยู่ด้วย ถ้าท่านเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ควรจะตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ มิฉะนั้นนักกีฬาจะหมดสภาพความเป็นนักกีฬาเร็วขึ้นทั้งๆ ที่ ยังอายุน้อย ถ้าเป็นแชมป์ก็เสียแชมป์เร็วขึ้น


    โลกมนุษย์ในยุคสารเคมีใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย
    หลัง จาก ค.ศ.1930 เป็นต้นมา ได้มีการใช้สารเคมีเพื่อการอุตสาหกรรม การปฏิวัติทางการเกษตรกรรม และเร่งผลผลิต เพิ่มมาก ทั้งพืชและสัตว์จึงได้รับสารเคมีต่างๆ เข้ามาสะสมในตัวตั้งแต่ลืมตาดูโลก มนุษย์ได้สารเคมีปนเปื้อนผ่านมาทางวงจรอาหาร ทำให้เอนไซม์ในอาหารและในตัวคนเสื่อมคุณภาพ เกิดการขาดแคลนเอนไซม์ขึ้น  พวกเราทุกคนกำลังอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยมลพิษ (Polluted World) เอนไซม์ในร่างกายจึงขาดแคลน ปัญหาจะมีมากถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ซึ่งสมองกำลังพัฒนา



    มนุษย์สมัยใหม่มีรสนิยมในการกินของที่ผ่านการหุงต้ม (Cooked Food) มากกว่าอาหารดิบ (Raw Food)
    คน ส่วนใหญ่พอใจที่จะกินอาหารที่ปรุงแต่ง อาหารที่อาบรังสี อาหารที่ใช้วิธีปิ้ง ย่าง มากกว่าอาหารดิบ เพราะชอบในความปลอดภัยจากเชื้อจุลินทรีย์ การที่เราปิ้งหรือย่างเนื้อ สัตว์ทำให้เราสูญเสียเอนไซม์ในอาหาร และยิ่งถ้ามีอายุมากขึ้นเอนไซม์ในตัวเราก็ลดต่ำลง การย่อยโปรตีนจึงมีอุปสรรค ไม่ได้สารอาหารกรดอะมิโน (Amino Acid) ร่างกายจะขาดกรดอะมิโน ซึ่งจะนำมาใช้ในการผลิตเอนไซม์ของร่างกาย ดังนั้นผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป การใช้เอนไซม์เสริมจึงจะสร้างความมั่นใจว่าจะไม่ขาดเอนไซม์

    ธรรมชาติไม่ได้ให้ เอนไซม์ ไว้ให้เราใช้จนฟุ่มเฟือย

    เอนไซม์ที่ผลิตขึ้นในร่างกายแต่ละคนมีจำนวนจำกัด ต้องช่วยตัวเองประหยัดเอนไซม์ให้มีใช้นานที่สุด ถ้าต้องการมีอายุยาวและสุขภาพดี
     
    เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดคือเมตาบอลิค เอนไซม์ ใช้ซ่อมแซมและสร้างเซลล์ ต้านทานโรค ป้องกันความเสื่อมโทรม
     

    แต่กฎธรรมชาติให้ไว้ว่า ถ้าเอนไซม์ใช้ย่อยอาหารไม่เพียงพอร่างกายต้องดึงเมตาบอลิค เอนไซม์ ในเซลล์ต่างๆมาทำงานที่ต่ำชั้นกว่าคือย่อยอาหาร ทำให้“เมตาบอลิค เอนไซม์”หมดเปลือง
    พลังของชีวิต (Life Force) จึงบกพร่องและไม่เพียงพอ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้โดยง่าย
    ถ้าใช้อย่างเดียวหรือใช้ฟุ่มเฟือย เงินในธนาคารก็หมดเร็ว



    Dr. Edward Howell ผู้บุกเบิกเรื่องเอนไซม์ รายงานว่า คนทั่วไปเบิกเอนไซม์จาก“ธนาคารเอนไซม์”(Enzyme Bank)ของตนมาใช้ และไม่ค่อยหาฝากคืนอีก ไม่เหมือนเบิกเงินจากธนาคาร เรามักหามาฝากคืน เงินไม่หมดไป เป็นการกระทำที่ฉลาด ถ้าพยายามกักตุนเอนไซม์ที่เราผลิตเองในร่างกายเอาไว้ และหาเอนไซม์จากภายนอกมาใช้แทน การหมดเปลืองจากธนาคารเอนไซม์ก็จะเกิดช้าลง


    " เอนไซม์คือสมบัติที่มีค่าของชีวิต มีจำนวนจำกัด จงใช้อย่างประหยัด "


    การใช้เอนไซม์เสริมช่วยย่อยอาหารเป็นสิ่งจำเป็นเมื่ออายุมากขึ้น เพื่อประหยัดเมตาบอลิค เอนไซม์ได้
    ถ้าใช้เอนไซม์ในธนาคารเอนไซม์ (Enzyme Bank) อย่างฟุ่มเฟือย ก็ร่อยหรอตั้งแต่ยังหนุ่มสาว

    แต่ถ้าประหยัดใช้ หาจากแหล่งภายนอกมาใช้แทนเช่น กินเอนไซม์เสริมและกินอาหารสด จะมีเอนไซม์ในธนาคารพอใช้เมื่อแก่ตัวลง ความชราและโรคแห่งความเสื่อม (Degenerative Disease)ทั้งหลายก็ไม่มากล้ำกลาย

    ความรู้พื้นฐานเรื่อง เอนไซม์

    ผลของการศึกษาเกี่ยวกับเอนไซม์ที่ควรทราบไว้เป็นความรู้พื้นฐาน คือ
    1. เอนไซม์เสริมไม่ถูกทำลายโดยกรด (Hydrochloric Acid) ในกระเพาะอาหารอย่างที่เคยเชื่อกันมาก่อน
    2. ใครก็ตามที่กินอาหารหุงต้ม (Cooked Food) หรืออาหารปรุงสำเร็จ (Processed Food) ต้องการเอนไซม์เสริมเพื่อช่วยย่อยอาหาร
    3. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันค้นพบว่า บทบาทสำคัญอย่างเดียวของวิตามินคือ หน้าที่ในการช่วยเร่งให้เอนไซม์ทำงาน
    4. วิตามินและเกลือ แร่ ทำหน้าที่เป็นตัวคู่หูกับเอนไซม์ (Coenzyme) หมายความว่า ต้องอาศัยเอนไซม์เพื่อจะได้ทำหน้าที่ของวิตามินหรือเกลือแร่ได้สำเร็จ
    การรักษาความสมดุลในร่างกาย ใช้หลักของกฎธรรมชาติที่ว่า “ของเหมือนกันจะรักษาของที่เหมือนกัน” (Like Cures Like) ซึ่งหมายความว่า สิ่งใดก็ตามที่ทำให้เกิดอาการในคนสุขภาพดี สิ่งนั้นก็ย่อมสามารถรักษาคนป่วยที่ขาดอาการอย่างนั้นได้ (A substance that causes certain symptoms in a healthy person with these same symptoms)

    ในสภาวะสมดุลมีแร่ธาตุบางอย่างขาดไป ย่อมทำให้เสียสมดุลได้ ถ้าเราหามาเสริมเท่าจำนวนที่ขาด สมดุลร่างกาย(Homeostasis)ก็จะกลับคืนมาอย่างเดิม
     

    ถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ ก็หาเอนไซม์เสริมมากิน ก็กลับมาสู่สภาวะปกติ แต่บางคนขาดเอนไซม์ย่อยอาหารจึงมีลมในท้องมาก กลับไปรักษาอาการท้องอืด หายามาขับลม คือ ควบคุมอาการ เท่ากับซ่อนสาเหตุหรือโรคไว้ในตัว แทนที่จะรักษาต้นเหตุโดยหาเอนไซม์มากินทดแทนส่วนที่ขาดไป
     

    กฎข้อแรกของชีวิตที่สั้นและง่ายคือ “อะไรก็ตามที่จำเป็นถ้ามันขาดไป (Inadequate) ก็หามาเสริมSupplement)" ก็จะป้องกันความแก่ก่อนวัยและป้องกันสุขภาพได้

    สรุปได้ว่าเอนไซม์คือพลังของชีวิต (Enzyme is the Life Force)

    ความสำคัญของเอนไซม์ คือการสร้างเฮโมโกลบิน(Hemoglobin)ในเม็ดเลือดแดง เพื่อนำออกซิเจนไปให้อวัยวะทั่วทั้งร่างกาย คนจำนวนมากกระดูกเปราะบางจากการกินอาหารที่ขาดเอนไซม์ ไม่สามารถนำแคลเซียมมาใช้ได้ โปรตีนไม่สามารถเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเพราะไม่มีเอนไซม์ย่อยโปรตีน และร่างกายไม่อาจจะซ่อมแซมตนเอง หรือป้องกันอันตรายอันเกิดจากเชื้อโรค

    Dr.Edward Howell ได้บรรยายในหัวข้อเรื่อง เอนไซม์กับการมีอายุยืนยาว (Enzyme and Longevity) ไว้ว่า การกินเอนไซม์เพิ่มเติม (หรือเอนไซม์เสริม)จะยืดอายุให้ยืนยาวได้ โดย ได้แยกหนูทดลองเป็น 2 กลุ่ม หนูกลุ่มที่หนึ่งกินอาหารดิบ (ซึ่งมีเอนไซม์สมบูรณ์)สามารถมีอายุยืน 3ปี ส่วนหนูอีกกลุ่มที่กินอาหารปราศจากเอนไซม์มีอายุเพียง 2ปี การกินอาหารที่ขาดเอนไซม์ทำให้หนูทดลองอายุสั้นลง ถึง 30เปอร์เซ็นต์ ถ้าเอาเรื่องนี้มาเปรียบเทียบกับชีวิตมนุษย์ก็หมายความว่า คนเราจะมีอายุยืนขึ้นอีก 30เปอร์เซนต์หรือเท่ากับ 20ปี เพียงแต่กินอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเอนไซม์เท่านั้น

    นักวิทยาศาสตร์ทั้ง หลายที่สนใจในวิชาเอนไซม์เริ่มยอมรับว่า เมื่อก่อนเข้าใจผิด คิดว่าเอนไซม์ในร่างกายของเรามีจำนวนคงที่ตลอดเวลา และมีให้ใช้ไม่รู้จักหมด (constant and last forever) คิดเอาเองว่าสามารถนำมาใช้ และใช้แล้วใช้อีกได้จนกระทั่งมีการวิจัยหลายครั้ง โดยกลุ่มนักชีวเคมี จึงรู้ว่าเอนไซม์ในร่างกายของคนเรามีจำนวนจำกัด มีวันเสื่อมสภาพ ถ้าใช้มากก็หมดเปลืองเร็ว  ถ้าเป็นโรงงานก็จะต้องหาแม่ปั๊มใหม่มาเปลี่ยน แต่ร่างกายคนเราไม่สามารถจะหาแม่ปั๊มใหม่มาเปลี่ยนได้ ชีวิตจึงสิ้นสภาพ

    สิ่งแวดล้อมที่เต็มไป ด้วยมลพิษ ดินที่ปราศจากเกลือแร่ อาหารที่ปรุงสำเร็จ การใช้ไมโครเวฟทำอาหาร การทำงานหนัก ความเครียด เหล่านี้เป็นตัวทำให้เอนไซม์ โคเอนไซม์ไม่สมบูรณ์ บกพร่องทั้งในอาหารและในตัวของเราเอง เป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตได้

    การแก้ปัญหาซึ่งง่าย เหมือนเส้นผมบังภูเขา “เมื่อขาดหามาเสริม” ด้วยการกินอาหารดิบ และสดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าทำได้ยากวิธีแก้คือ “กินเอนไซม์เสริม” (To offset this loss, we need to supplement our Life Force with oral enzyme supplement.)